นักวิจัย

ดร. ชวาลิน เศวตนันทน์ (หัวหน้าโครงการ)

ดร. ชวาลิน เศวตนันทน์ เป็นอาจารย์ประจำสังกัดภาควิชาการสื่อสาร ศิลปะสร้างสรรค์ ภาษาและวรรณคดี มหาวิทยาลัยแมคควอร์รี่ (เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) งานวิจัยส่วนใหญ่เน้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมการสื่อสารในสังคม โดยใช้วิธีการวิจัยทางภาษาศาสตร์ สัญศาสตร์ และการวิเคราะห์วาทกรรมจากภาษาภาพและเสียง มีผลงานวิชาการตีพิมพ์ในวารสารระดับโลก เช่น Visual Communication (SAGE), Corpora (SAGE) และ Open Linguistics (de Gruyter) บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Open Linguistics ยังติดอันดับบทความที่ได้รับการดาวน์โหลดสูงสุดของวารสารในช่วงปี  2018 ถึง 2019 ด้วย

ดร.ชวาลิน เศวตนันทน์เคยเป็นอาจารย์ประจำในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยรับเชิญของสถาบันวิจัยญี่ปุ่นศึกษา (เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น) 


รศ.ดร. เวียงรัฐ เนติโพธิ์

เวียงรัฐ เป็นรองศาสตราจารย์ ประจำ ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีประสบการณ์ในการสอนตั้งแต่ปี 2001 โดยสอนหลายวิชารวมทั้งวิชา รัฐและสังคม การเมืองการปกครองท้องถิ่น และการเมืองการปกครองประเทศญี่ปุ่น เวียงรัฐ เคยเป็นนักวิชาการอาคันตุกะที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ในปี 2009 และปี 2013

เวียงรัฐ มีผลงานวิชาการจำนวนหนึ่งด้านความสัมพันธ์อุปถัมภ์ การเมืองไทย การเมืองท้องถิ่นและภูมิภาค เธอได้ตีพิมพ์หนังสือสองเล่มคือ ทุนเชียงใหม่ (2006) และหีบบัตรกับบุญคุณ (2015) ในปัจจุบัน เวียงรัฐทำวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ในระบอบเผด็จการในช่วงระหว่างปี 2014 ปัจจุบัน


รศ.ดร. จักรกริช สังขมณี

จักรกริช สังขมณี เป็นรองศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานของเขามุ่งเน้นไปที่การศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (STS) โดยเฉพาะโครงการวิศวกรรมอุทกวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรัฐของไทย โครงสร้างพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม และการเมืองสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน จักรกริชเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบรรณาธิการของวารสาร Engaging Science, Technology, and Society

ผลงานตีพิมพ์ล่าสุดของเขา ได้แก่ “Bangkok Precipitated: Cloudbursts, Sentient Urbanity, and Emergent Atmospheres” East Asian Science, Technology and Society (EASTS) 15(2); “State, NGOs, and Villagers: How the Thai Environmental Movement Fell Silent” in Environmental Movements and Politics of the Asian Anthropocene (2021); “Infrastructure in the Making: The Chao Phraya Dam and the Dance of Agency” TRaNS: Trans-Regional and -National Studies of Southeast Asia, 6(1); และ “An Assemblage of Thai Water Engineering: The Royal Irrigation Department’s Museum for Heavy Engineering as a Parliament of Things” Engaging Science, Technology and Society, 3.


รศ.ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี เป็นรองศาสตราจารย์ ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบการศึกษาด้านการเมืองเปรียบเทียบจากมหาวิทยาลัย The Johns Hopkins University สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเกียวโต  (Kyoto University) ประเทศญี่ปุ่น ความสนใจด้านวิชาการประกอบด้วย พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง การออกแบบสถาบันการเมือง พฤติกรรมการเมือง การสร้างเสริมพลเมือง และการเมืองสหรัฐอเมริกา งานวิชาการที่ตีพิมพ์ เช่น “Electoral Integrity and the Repercussions of the Institutional Manipulations: The 2019 General Election in Thailand.” Asian Journal of Comparative Politics. Volume 5 Number 1, March. “A Tale of Two Hybrid Regimes: A Study of Cabinets and Parliaments of Indonesia and Thailand” Japanese Journal of Political Science 19 (2), 2018. The Conundrum of a Dominant Party in Thailand” Asian Journal of Comparative Politics. 1–18. หนังสือ Thai Political Parties in the Age of Reform.  “Political Parties in Thailand” In  Jean Blondel and Takashi Inoguchi (eds.) Political Parties and Democracy: Contemporary Western Europe and Asia และ “The Thai Parliament: A Weak Cornerstone in the Building of Democracy” In Zheng Yongniaml, Lye Liang Fook and Wilhelm Hofmeister (eds.)Parliaments in Asia: Institution Building and Political Development. บทความภาษาไทย เช่น ความเป็นตัวแทน กลไกตรวจสอบ และระบบเลือกตั้ง: ข้อคิดในการออกแบบสถาบันการเมือง งานวิจัยเรื่องบทบาทของพรรคการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้ง การเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 ได้รับรางวัลงานวิจัย ดีเด่น ประจำปี 2557 จากสภาวิจัยแห่งชาติ


ผศ.ดร. พศุตม์ ลาศุขะ

พศุตม์ ลาศุขะ เป็นผู้ช่วยศาสตรจารย์ด้านวรรณกรรมศึกษา ที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พศุตม์จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก School of Culture, History, and Language, The Australian National University ความสนใจด้านงานวิจัยคือบทบาททางสังคมของเรื่องเล่าที่ทำให้เกิดและรักษาวัฒนธรรมร่วมสมัยและของสาธารณะ เคยเขียนบทความวิชาการเผยแพร่ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในหัวข้อเกี่ยวกับภาพยนตร์ กราฟฟิกในสื่อสังคม และงานเขียนเชิงท่องเที่ยว พศุตม์ ในฐานะหัวหน้าโครงการ และเพื่อนร่วมงานที่คณะฯ เพิ่งได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ในโครงการวิจัยที่ชื่อ “สภาวะสูงวัยที่นอกเหนือไปจากตัวเลขผ่านงานวรรณกรรมและการใช้ภาษา” โครงการนี้ศึกษาข้อจำกัดและความซับซ้อนของนโยบายเกี่ยวกับสังคมสูงอายุที่ใช้ช่วงตัวเลขมานิยามและกำกับ โครงการวิจัยศึกษาความเป็นไปได้อื่นๆจากงานวรรณกรรมและการใช้ภาษาในสถานการณ์จริงเพื่อนำเสนอวิธีการในการดำรงอยู่ในสังคมสูงอายุที่มีความเหมาะสมทางจริยธรรมกับคนในสังคม