บทความ
-
สู้วิกฤตการณ์แบบอำนาจนิยมของรัฐไทย
แม้ว่าโลกจะเผชิญกับเชื้อโควิด-19 อย่างพร้อมเพรียงกัน แต่รัฐ สังคม และผู้คนทั่วโลกล้วนตอบรับกับวิกฤตครั้งนี้แตกต่างกันไป คุณภาพและมาตรฐานการดำรงชีวิตของแต่ละประเทศอาจจะส่งผลต่อการจัดการควบคุมโรคอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่ตัวชี้วัดทั้งหมดเพราะยังมีปัจจัยอีกหลากหลายแง่มุมที่ตอบโจทย์ความสำเร็จหรือล้มเหลว รัฐไทยตอบรับกับวิกฤตครั้งนี้แบบอำนาจนิยมและมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ แม้ว่าจะคุมตัวเลขในระยะแรกได้ แต่ก็ส่งผลต่อการใช้อำนาจในระยะยาว และเวลาผ่านไปเพียงไม่นาน วิกฤตซ้อนวิกฤตก็เกิดขึ้นจากปัญหาต่างๆ ที่งอกเงยในช่วงที่โควิดยังคงระบาดอยู่
-
เมื่อเสียงคืออำนาจ: การจัดการโควิดด้วยพลานุภาพแห่งการสื่อสาร
วิกฤตการณ์โควิดเผยให้เห็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนขององคาพยพที่เป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงสุขภาวะของประชาชนในแต่ละประเทศ เริ่มตั้งแต่ระบบสาธารณสุขที่เป็นด่านหน้าในการป้องกันโรคและดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ ระบบการเมืองและการทูตที่มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการทรัพยากร รวมถึงวางแผนจัดซื้อและกระจายวัคซีนผ่านการเจรจาต่อรองทั้งในและนอกประเทศ ระบบเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงประคับประคองความเป็นอยู่ของประชาชน และระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นเหมาะกับโลกสมัยใหม่ในช่วงเวลาคับขัน อย่างไรก็ดี ทุกรัฐบาลจะขาดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้เลย นั่นคือ ระบบการสื่อสารสาธารณะ (public communication) ที่มีประสิทธิภาพ เพราะประชาชนจะยอมรับทุกระบบที่กล่าวมาและให้ความร่วมมือกับรัฐบาลได้ก็ต่อเมื่อข้อมูลต่างๆ เข้าถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็วเหมาะสมและตรงตามเป้าหมาย
-
การตั้งชื่อแพลทฟอร์มดิจิทัลกับ ภาพลักษณ์ของระบบจัดการโควิด-19 ของภาครัฐไทย
ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ปรากฏการณ์หนึ่งที่น่าสนใจในการจัดการโรคระบาดของหน่วยงานภาครัฐของไทยคือการตั้งชื่อแพลทฟอร์มดิจิทัล (digital platform) ที่ใช้ในการช่วยจัดการการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าและบรรเทาความลำบากแก่ประชาชน ซึ่งแพลทฟอร์มดิจิทัลนี้รวมไปถึงแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ เว็บไซต์ที่เอาไว้ใช้เช็คอิน และบัญชีในโปรแกรมแชท เช่น Line เป็นต้น ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านอาจจะเข้าใจว่าการตั้งชื่อของหน่วยงานรัฐไทยสำหรับสถานการณ์โควิดอาจจะเป็นแค่สิ่งที่แสดงถึงความหลงตัวเองของรัฐไทย หรือเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงมุมมองต่อเชื้อไวรัส ในบทความนี้ ผู้เขียนจะชี้ให้เห็นว่าการตั้งชื่อลักษณะดังกล่าว จริง ๆ แล้วเป็นความพยายามของภาครัฐในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโครงข่าย (infrastructure) ของการจัดการโรคระบาดที่หน่วยงานรัฐพยายามสร้างขึ้น
-
บทบาทของท้องถิ่นกับการป้องกันโควิด-19 ที่รัฐราชการทำให้ลืม แต่ voter ไม่ลืม
การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ในช่วงการระบาดระลอกที่หนึ่งและสองในปี 2020 นั้น ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ติดอันดับต้น ๆ ที่สามารถคุมอัตราการติดเชื้อได้อย่างไม่น่าเชื่อ คนสรรเสริญเยินยอรัฐบาลก็มีบ้าง แต่คนด่ารัฐบาลก็เยอะ เรื่องที่ให้ประชาชนด่าก็มีไม่ซ้ำเกือบทุกวัน จึงเป็นเรื่องกระอักกระอ่วนใจอยู่ไม่น้อยสำหรับคนที่เห็นว่ารัฐบาลอำนาจนิยมนี้ไร้ความสามารถ มีเรื่องให้จับได้ว่าแสวงหาประโยชน์ส่วนตนอยู่เรื่อย ๆ แต่เรากลับเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศ ที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อเป็น 0 อยู่หลายเดือน มากพอที่จะให้ประชาชนคนรุ่นใหม่ ได้มีโอกาสออกมาตามท้องถนน เพื่อแสดงออกทางการเมือง และพูดในสิ่งที่ควรพูดในสังคมการเมืองไทย ผู้เขียนจึงมาเล่าเรื่องงานวิจัยที่ผู้เขียนทำร่วมกับ อ. หัชชากร วงศ์สายัณห์ ให้เห็นว่าบทบาทในการลดการแพร่ระบาดของโรคนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมอย่างสำคัญอย่างไร ตัวสถาบันท้องถิ่น ผู้นำ และเครือข่ายคือพลังที่สำคัญที่สาธารณชนไม่ค่อยเห็น รัฐบาลไม่เคยให้เครดิต ซ้ำยังมีความพยายามดึงอำนาจกลับอย่างต่อเนื่อง
-
ความเหลื่อมล้ำ โควิด และการปิดโรงเรียน
ตัวชี้วัดความสำเร็จในการบริหารจัดการโควิด-19 อาจไม่ใช่เพียงการเปรียบเทียบจำนวนผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิต แต่เป็นจำนวนวันที่เปิดหรือปิดโรงเรียน กล่าวกันว่า โรงเรียนควรเป็นสถานที่สุดท้ายที่ควรปิด และจะปิดก็ต่อเมื่อได้ลองใช้มาตรการทุกอย่างแล้วแต่ไม่สำเร็จ เพราะโรงเรียนเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคมในการสร้างประชากรที่มีคุณภาพในอนาคต บทความชิ้นนี้สำรวจโรงเรียนประถมและมัธยมในหลายประเทศว่าปรับตัวและรับมือกับโรคระบาดโควิด-19 อย่างไร และมีบทสรุปอะไรบ้างที่สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยบรรเทาความสูญเสียจากเวลาเรียนที่หายไปของเด็กนักเรียนไทย
-
ภูมิคุ้มกันเชิงสังคมของวัคซีน : การรับรู้ ความลังเล และการ (ไม่) ยอมรับ
ปรากฏการณ์การระบาดและความพยายามยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 เชื่อมโยงกับมิติความสัมพันธ์ที่หลากหลายในสังคม โดยพื้นฐานแล้ว การระบาดของไวรัสเกี่ยวข้องมิติเชิงชีวภาพของเชื้อไวรัส สภาพแวดล้อม ตลอดจนเกี่ยวข้องกับสุขภาวะของสิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์ แต่นอกเหนือจากมิติเชิงชีวภาพแล้ว การระบาดของไวรัสก็ยังเกี่ยวข้องกับมิติทางกายภาพที่วางอยู่บนความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่และการสัมผัส ทั้งยังเป็นเรื่องทางเทคนิคโดยเฉพาะการพัฒนา การเก็บรักษา การกระจายวัคซีน ตลอดจนการประเมินปฏิกิริยาของร่างกายต่อเชื้อโรคและวัคซีน และที่สำคัญยังเป็นเรื่องทางสังคมและการเมือง ที่ซึ่งการแพร่กระจายและการยับยั้งการการระบาด มักเชื่อมโยงอย่างมากกับความน่าเชื่อถือของการผลิต ความโปร่งใสของข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน ความชอบธรรมในการจัดหาและแจกจ่าย ตลอดจนทัศนคติของสาธารณะต่อการจัดการการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในสังคม
-
แลโลก-มองไทย 2 ปีผ่านไปกับโควิด-19
ในวันที่เขียนบทความนี้ ประชากรหลายประเทศในโลกเดินหน้าเปลือย ไม่ใส่หน้ากากอนามัยกันแล้ว หลังจาก 184 ประเทศทั่วโลก มีสถิติจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 613 ล้านคน ฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 12.6 พันล้านเข็ม เสียชีวิต 6,517,051 คน ส่วนประเทศไทยของเรานั้น จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันตามข้อมูลที่เป็นทางการลดลงเหลือเพียง 1,321 คน และมีจำนวนผู้เสียชีวิต 14 ศพ บรรยากาศโดยรวมดูผ่อนคลาย มีข่าวแว่วมาว่าจะประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นในเดือนตุลาคมนี้ หลังจากที่ชะลอมาจากที่ตั้งใจจะประกาศตั้งแต่เดือนกรกฎาคม
-
วัคซีนในสังคม : จาก “ข้อเท็จจริง” สู่ “การตระหนักร่วม”
ในบทความก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้ทำความเข้าใจการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ตลอดจนการทำให้วัคซีนมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงแต่ในแง่ที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันไวรัสได้เท่านั้น หากแต่ต้องมีประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อความต้องการและความเชื่อมั่นทางสังคมด้วย ประเด็นหลังนี้ผู้เขียนเรียกว่า “ภูมิคุ้มกันทางสังคม” ของวัคซีน ซึ่งเป็นมิติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง หากเราจะเข้าใจการทำงานและการแพร่กระจายของวัคซีน ซึ่งดำเนินไปพร้อม ๆ กับการแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสาร ความคาดหวัง และเชื้อไวรัสในสังคม
-
ภาพลักษณ์ของวัคซีน - บทเรียนราคาแพงของการสื่อสารด้านสุขภาพ
วัคซีนหลากหลายยี่ห้อได้รับการอนุมัติในช่วงเวลาไม่นานนักในหลายประเทศทั่วโลกหลังจากการค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่องยาวนานตลอดปีและการทดลองทางคลินิกตัวอย่างวัคซีนโควิด-19 นับครั้งไม่ถ้วน ในเดือนธันวาคมปี 2563 จีนเริ่มอนุมัติให้ใช้วัคซีนซิโนฟาร์มสำหรับการใช้งานทั่วไป สหราชอาณาจักรเริ่มอนุมัติวัคซีนไฟเซอร์และแอสตร้าเซเนก้าสำหรับการใช้งานฉุกเฉิน และในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ยาวไปถึงเดือนมิถุนายนในปีถัดมา องค์การอนามัยโลกก็ได้ทยอยอนุมัติวัคซีนหกยี่ห้อสำหรับการใช้งานฉุกเฉิน แน่นอนว่าการที่บริษัทต่างๆสามารถผลิตวัคซีนโควิดออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็วจะช่วยคลายความกังวลใจในวงการแพทย์ไปได้บ้าง แต่การมีวัคซีนโควิดหลากหลายชนิดก็สร้างความสับสน ให้กับประชาชนทั่วไปอยู่ไม่น้อย
-
หน้ากากกับสังคมโควิด
เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปเจออาจารย์ชาวต่างชาติท่านหนึ่งที่เพิ่งจะมารับตำแหน่งใหม่ที่มหาวิทยาลัย โดยเรานัดกันที่ลานหน้าอาคารหนึ่ง ผู้เขียนเพิ่งเดินออกมาจากการประชุมหนึ่งจึงมีหน้ากากอยู่บนใบหน้า (ตามธรรมเนียมการใช้พื้นที่ในที่ร่ม) อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่เดินไปหาอาจารย์ท่านนั้น ก็เกิดความคิดว่าจะถอดหน้ากากออกเพราะเป็นการยืนคุยกันกลางแจ้ง ในจังหวะที่กำลังจะถอดนั้นเอง ก็เป็นจังหวะเดียวกันกับที่อาจารย์ท่านนั้นเหลือบมาเห็นผู้เขียนพอดี และท่านได้ดึงเอาหน้ากากขึ้นมาสวม สลับกับผู้เขียนที่ถอดหน้ากากออก เราสองคนมองหน้ากัน หัวเราะและเคอะเขินกับจังหวะที่ไม่ตรงกัน